วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอกพุทธรักษา


ดอกพุทธรักษา บูชาพระคุณพ่อ

ดอกไม้ประจำวันพ่อ


พุทธรักษา มีชื่อเรียกอื่นเช่น พุทธศร บัวละวงศ์ เป็นพืชในวงศ์ CANNACEAE ชื่อสามัญ Butsarana และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Canna indica เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ

ลำต้น มีความสูงประมาณ 1–2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย

ลักษณะหน่อ ที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2–4 ซ.ม.

ใบ มีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูน

โคนใบ มีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10–15 ซ.ม. ยาวประมาณ 25–35 ซ.ม.

ออกดอก เป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15–20 ซ.ม. ประกอบด้วยดอก 8–10 ดอก
และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยปกป้องคุ้มครอง ไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายเกิดแก่บ้านและผู้อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่เชื่อกันว่า

มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง

การปลูกนิยมปลูกในแปลงเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน หรือปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน

ควรปลูกในดินร่วนซุย ที่มีความชื้นสูง ต้องการแสงรำไร หรือในบริเวณกลางแจ้งที่มีแสงแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง

การดูแลรักษาค่อนข้างง่าย สามารถทนต่อโรคต่างๆ ได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะ

เมล็ดและการแยกหน่อ แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการแยกหน่อ
มงคลความหมาย

พุทธรักษานับเป็นพันธุ์ไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามที่ดีมากชนิดหนึ่ง เพราะแปลว่าพระพุทธเจ้าคอยปกป้องคุ้มครอง

หากบ้านใดมีต้นไม้ชนิดนี้ก็จะอยู่อย่างสงบสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ คนในครอบครัวรอดพ้นจากภัยและเรื่องราวร้ายๆที่ย่างกายเข้ามา

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่มีผู้นิยมเลี้ยงพุทธรักษามาช้านานแล้วอีกทั้งดอก

พุทธรักษาสีเหลืองยังเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของวันพ่อ ลูกจะนำดอกพุทธรักษานี้มอบให้พ่อในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี



















พุทธรักษาบางอย่างบริสุทธิ์

อำนาจพุทธอำนาจธรรมที่นำสาส์น

อ่านทางจิตล้างจริตที่ติดนาน

แล้วจะผ่านพบเภทภัยใหม่ใหม่คอย




ชุ่มชื่นระรื่นกาย

สวยบาดตาสดบาดใจ

กลีบดอกปลั่งดั่งยองใย

พุทธรักษาชาติตระกูล

ดอกเฟื่องฟ้า


ดอกเฟื่องฟ้า

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

ตระกูล

ถิ่นกำเนิด
Bougainvillea

Bougainvillea spp.

NYCTAGINACEAE

บราซิล

พันธุ์เฟื่องฟ้าที่ปลูกเป็นไม้มงคล1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น
ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา
2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี
3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช
4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี
5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง
6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัยลักษณะทั่วไปเฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1-10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ผิวลำต้นสีเท่าหรือสีน้ำตาลลำต้นมีหนามคมแหลมยาวประมาณ0.51เซนติเมตรติดอยู่เป็นระยะๆลักษณะของทรงพุ่มสามารถตัดแต่ง และบังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถาลักษณะรูปใข่ปลายใบแหลมโคนใบมนขอบใบเรียบพื้นใบ
เรียสีเขียว ขนาดใบกว้าง 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4-5 เซนติเมคร ดอกออกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอหรือใบประดับ 3กลีบ ส่วนดอกจะมีดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเฟื่องฟ้าไว้ประจำบ้าน สามารถสร้างคุณค่าของชีวิตให้สูงขึ้น เพราะเฟื่องฟ้าเป้นพรรณไม้ ที่ได้รับสมญาว่าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับเนื่องจากสามารถนำเฟื่องฟ้าไปใช้ประโยชน์ในด้านสุนทรียภาพเพื่อประดับสวนอาคาร
บ้านเรือนและสถานที่สำคัญต่างๆนอกจากนี้คนไทยโบราณยังมีความเชื่ออีกว่าเฟื่องฟ้าเป็นไม้มงคลทำสำคัญของเทศกาลตรุษจีน เพราะต้นเฟื่องฟ้าสามารถออกดอกสะพรั่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนจึงทำให้บางคนเรียกต้นเฟื่องว่าว่าต้นตรุษจีนดังนั้นบางคนเชื่อว่า
เมื่อช่วงดอกเฟื่องฟ้าบานแสดงถึง ความเบิกบาน สว่างไสว ความรุ่งเรือง ที่ก้าวไกลแห่งชีวิตตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเฟื่องฟ้า ไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางด้าน ให้ปลูกในวันพุธ และถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นสตรี เพราะเฟื่องฟ้าเป็นราชินีแห่งไม้ประดับ ดังนั้นชื่อจึงเหมาะสมอย่างยิ่งกับสุภาพสตรี การปลูกการปลูกมี 2 วิธี1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 10 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่ม เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นรั้วบ้านมักทำเป็นซุ้มหรือร้านโดยให้ต้นเฟื่องฟ้า
เลื้อยขึ้นไปตามธรรมชาติขนาดหลุมปลูก30x30x30เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:2ผสมดินปลูกการปลูกเฟื่อ
ฟ้าทั้งสองวิธีเราสามารถที่จะทำการตัดแต่งทรงพุ่มให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมตามความต้องการไม่ให้ลำต้นเลื้อยก็ต้องทำการตัดแต่
ทรงพุ่มเช่นกัน เฟื่องฟ้าการดูแลรักษาHomeAbout usCommunityProductsServiceDesign gardenรวมLinkแหล่งข้อมูลข้อเสนอแนะโฆษณาFAQsAbout webmaster ดาดตะกั่ว
หมากผู้หมากเมีย
วาสนาราชินี
วาสนาอธิฐาน
เข็มสามสี
กวนอิมเงิน
กวนอิมทอง
หวายเขียว
ซองออฟอินเดีย
ซองออฟจาไมก้า
จันทน์ผา
อากาเว่
ยูคคา
ลิ้นมังกร
แพงพวย
ครุฑเขียวใบใหญ่
ครูฑตีนกบ
ครูฑใบเฟิร์น
ครูฑใบกุหลาบ
สับประรด
พุทธรักษา
หัวใจสีม่วง
ก้ามปูหลุด
ปรง
โกสน
คริสต์มาส
ไผ่น้ำเต้า
เข็มญี่ปุ่น
ฤาษีผสม
ว่านหางจระเข้
ปริก
ชบา
ยางอินเดีย
ยางด่าง
ไทรย้อย
กล้วยพัด
ปักษาสวรรค์
แสงจันทร์
เฟื่องฟ้า
ปาล์มจีน
แชมเปญปาล์ม
ปาล์มขวด
สิบสองปันนา
หมากแดง
หมากเหลือง
หมากเขียว
หมากนวล
กะพ้อ
จั๋ง
เต่าร้าง
แก้ว
ผกากรอง












แสง ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน/ครั้ง

ดิน ดินร่วนซุย ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ

ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์ ปักชำ ตอน การเสียบยอด

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง
แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า

การป้องกันกำจัด ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

ดอกดาวเรือง


ดอกดาวเรือง


ดาวเรือง
เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง
ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ


ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี

ชนิดของดาวเรือง
ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่
พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่
พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)


พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย
1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม
2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควร


การขยายพันธุ์ดาวเรือง
1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ
การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม
2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง
3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้
2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้


การปลูกดาวเรือง
การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
1. การเตรียมแปลงปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
2. วิธีการปลูก
1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
3.การปฏิบัติดูแลรักษา
1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
4. การตัดดอก
ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว


ศัตรูที่สำคัญของดาวเรือง
โรค
โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ
1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง
แมลง
1. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
2. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด

การใช้ประโยชน์
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น

ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและการตลาด
1. ต้นทุนการผลิต การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถาง ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณกระถางละ 5-8 บาท
2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท
3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯ

ดอกบานไม่รู้โรย




ดอกบานไม่รู้โรย


ชื่อวิทยาศาสตร์ Gomphrena globosa Linn.

วงศ์ AMARANTHACEAE

ชื่อสามัญ - Bachalor's Button,Button Agaga,Globe Amaranth,Pearly Everlasting

ชื่ออื่นๆ กะล่อม ตะล่อม (ภาคเหนือ) ดอกสามเดือน กุนหยี (ภาคใต้)



ลักษณะทั่วไป

บานไม่รู้โรยเป็นไม้ที่กำเนิดอยู่ในแถบร้อนของทวีปเอเชีย ทนต่อความร้อนความแห้งแล้งได้ดี เป็นไม้ล้มลุก ทรงพุ่มสูงประมาณ

100-150 ซ.ม ออกดอกเดี่ยวขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ3/4นิ้ว กลีบดอกแข็งเล็กจัดเรียงตัวรวมกันอยู่อย่างหนา

แน่น มีสีชมพู ขาว ม่วงอมฟ้า และส้ม ดอกใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและแห้ง

การปลูก

เนื่องจากบานไม่รู้โรย เป็นดอกไม้ที่ปลูกง่ายและไม้ต้องการพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์มากนักหรือปลูกในดินชนิดใดก็งอก

แต่ทั้งนี้ควรใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีลงไปในดินบ้าง เพื่อการเจริญเติบโตและดอกจะได้มีคุณภาพดีดียิ่งขึ้น

การเก็บดอกมาทำแห้งไม่ควรเก็บช้าเกินไป เพราะดอกจะไม่ได้ขนาดและสีซีด การตัดก็ควรให้มีก้านดอกติดไปด้วยยาวประมาณ

5-12 นิ้ว ลิดใบออก มัดรวมกันไว้ในที่ร่ม

การขยายพันธุ์

นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งง่าย สะดวก รวดเร็ว การเพาะควรนำเมล็ดมาแช่น้ำประมาณ 3-4 ชม.

แล้วนำไปเพาะในกระบะ กลบด้วยวัสดุเพาะ จากนั้นประมาณ 8-10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นเริ่มต้นอ่อน

โรคและแมลง

ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ใบและต้น ได้แก่ โรคใบจุดและโรคแอนแทรกโนส โรคทั้งสองชนิดเกิดจากเชื้อราและระบาดในช่วงฤดูฝน

ฉะนั้นผู้ปลูกควรฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราไว้ก่อนเป็นครั้งคราว





ดอกรองเท้านารี








ดอกรองเท้านารี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย












ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย



ชื่อสามัญ -



ชื่อวิทยาศาสตร์ paphiopedilum hirsutissimum



วงศ์ orchidaceae









ลักษณะทั่วไป เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นรากกึ่งดิน ออกเป็ฯกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมากกว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นและม่วงแดงจำนวนมาก กรีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนดอกสีนําตาลอมเหลือง ปลายกลับสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบด้านบนหยักเป็ฯคลื่น มีขนปกคลุมทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆสีนําตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม ถึงมีนาคม



การชยายพันธ์ แยกหน่อ



สภาพที่เหมาะสม เติบโตได้ดีใท่มีอากาศเย็น



ถิ่นกำเนิด ภาคเหลือและภาดตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ